มอเตอร์กระแสตรงนั้น จะทำงานโดยวิธีการผ่านกระแสให้กับขดลวดในสนามแม่เหล็ก ซึ่งจะทำให้เกิดแรงแม่เหล็ก โดยส่วนของแรงนี้จะขึ้นอยู่กับกระแสและกำลังของสนามแม่เหล็ก





 จากในรูปทางเดินของฟลั๊กซ์แม่เหล็ก และสนามแม่เหล็กจะเกิดจากแท่งแม่เหล็กเฟอร์ไรต์ 2 ชิ้นที่ขึ้นรูปเป็นแบบโค้งยึดติดกับตัวถังได้พอดี เพื่อที่จะให้เส้นแรงแม่เหล็กวิ่งเข้าสู่ใจกลางของมอเตอร์ได้ ดังนั้นความเข้มของแม่เหล็กจะขึ้นอยู่กับขนาดความหนาของแม่เหล็กด้วย ซึ่งส่งผลให้ฟลั้กซ์แม่เหล็กวิ่งไปบนตัวถังโลหะ กระแสไฟฟ้าในขดลวดที่พันกับทุ่นโรเตอร์ก็จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และต้านกับสนามแม่เหล็กถาวร จึงเกิดเป็นแรงบิดเพื่อที่จะหมุนทุ่นโรเตอร์ ให้ไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางของสนามแม่เหล็กที่มีแรงมากกว่า กระแสก็จะไหลผ่านไปยังทุ่นโรเตอร์ โดยผ่านแปรงถ่าน ซึ่งจะสัมผัสกับแหวนตัวนำในทุ่นโรเตอร์ และแหวนคอมมิวเตเตอร์ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 เซกเมนต์เพื่อที่จะทำหน้าที่นำกระแสเข้าขดลวดนั้นเอง
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า การเปลียนมอเตอร์นั้น จะมีอยู่แบบ 2 กรณี ตือ การเลือกมอเตอร์เมื่อ ซื้อเครื่องจักรใหม่ หรือ การเลือก มอเตอร์ทดแทนมอเตอร์เก่า

การเลือกมอเตอร์ใหม่

การเลือกมอเตอร์ก็คือ การเลือกสิ่งที่จะมาออกแรงขับให้โหลดทางกลหมุนได้ด้วยความเร็วที่ต้องการ ดังนั้น การเลือกมอเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ดีซีหรีอมอเตอร์เอซี  สิ่งที่ผู้เลือกต้องคำนึงถึงอันดับแรกก็คือ มอเตอร์ตัวนี้นออกแรงบิดได้เพียงพอกับที่ต้องการหรือไม่ เพราะถ้าแรงบิดไม่พอ ทุกอย่าง ก็จบ เนื่องจากมอเตอร์ไม่มีแรงเพียงพอที่จะไปทำให้โหลดทางกลหมุนได้  อย่างไรก็ตามการคำนึงถึงเฉพาะแรงบิดที่จะ ทำให้โหลดทางกลหมุนได้  แต่เพียงอย่างเดียวก็คงไม่พอ เพราะเราต้องคำนึงถึงด้วยว่าเราต้องการให้โหลดทางกลออกตัวได้อย่างรวดเร็ว เพียงใด ซึ่งแน่นอนว่ามอเตอร์จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะสร้างแรงบิดส่วนเกินนี้ได้อีกส่วนหนึ่ง จากนั้นเราค่อยไปดูว่าเราต้องการให้มอเตอร์หมุนด้วยความเร็วรอบเท่าใด เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการเลือกขนาดมอเตอร์ เรา ขั้นตอนในการเลือกได้ 3 ขั้น ตอนดังนี้

1.      1. จากโหลดที่ต้องการแรงบิดสูงสุดเท่าไหร่

ดยพิจารณาจากทุกย่านความเร็วรอบที่ใช้งานจริง ซึ่งโดยทั่วไปโหลดทางกลจะมีพฤติกรรมพื้นฐานในการ เกิดแรงบิดต้านการหมุนอยู่ 4 แบบ





ก.โหลดออกแรงบิดต้านการหมุนเท่ากันตลอดย่านความเร็ว

ข.โหลดออกแรงบิดต้านการหมุนเพิ่มขึ้นตามความเร็วรอบกำลังสอง

ค.โหลดออกแรงบิดต้านการหมุนแปรผกผันกับความเร็วรอบ

ง.โหลดออกแรงบิดต้านการหมุนเป็นสัดส่วนกับความเร็วรอบ

ในกรณีของโหลดประเภท ก.  ถ้าโหลดต้องการแรงบิดของมอเตอร์ที่ต้องใช้ในการขับโหลดทางกลให้หมุนด้วย ความเร็วค่าใดค่าหนึ่งก็จะต้องมีค่าเท่ากันหรือมากกว่าแรงบิดที่โหลดต้อง การ   ส่วนประเภท  ข, ค และ ง. นั้น จะต้องเลือกระดับแรงบิดให้เท่ากันหรือมาก กว่าค่าสูงสุดที่โหลดต้องการ ในย่านความเร็วที่ต้องการปรับความเร็วรอบ


1.       2. ดูจากการให้โหลดออกตัวเร็วหรือช้ามากน้อยเพียงใด

สำหรับแรงบิดที่มอเตอร์ต้องใช้ในการขับโหลดทางกลนั้น เป็นไปตามสมการ

  
เมื่อ คือ แรงบิดต้าน การหมุนของโหลดตามที่อธิบายไว้ใน ข้อ 1
          คือ โมเมนต์ความเฉื่อย ของมอเตอร์และโหลดทางกลรวมกัน                                                                              
  คือ อัตราเร่ง หรือ อัตราการออกตัว,อัตราการเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์

จากสมการ ถ้าเราต้องการให้ระบบมีอัตราเร่งที่ดี มาก)

เราก็จะต้องเลือกมอเตอร์ที่ตัวใหญ่ขึ้นมาก ๆ เมื่อ เทียบกับกรณีที่ไม่ต้องการอัตราเร่งมาก แม้ว่าโหลด ทางกลจะเป็น ตัว เดียวกัน ก็ตาม เปรียบเหมือนคนตัวใหญ่แข็งแรง เมื่อให้ไปปัน จักรยานแข่งกับคนตัวผอม แรงน้อย การออกตัว, เวลาเร่งย่อมทำได้ดีกว่าคนผอมหรือรถยนต์แรงม้าสูง เวลาเร่งเครื่องย่อมไปได้เร็วกว่ารถแรงม้าต่ำ แม้ขนาดของรถจะเท่ากัน

3.พิจารณาความเร็วพิกัดที่ต้องการ

ในกรณีของโหลด 3 ประภาทท ก, ข และ ง นั้น การพิจารณาก็ทำแบบตรงไปตรงมา กล่าวคือ โหลดต้องการความเร็วรอบ 

สูงสุดเท่าใดก็เลือก มอเตอร์ที่มีพิกัดความเร็วรอบเท่ากัน หรือ มากกว่า แต่ถ้าเป็นโหลดประเภท ค การเลือก ด้วยวิธีดังกล่าว 

อาจทำให ้ผู้เลือกต้องเสืยเงินซื้อมอเตอร์มากขึ้นโดยไม่จำเป็น  เพราะถ้า สังเกตดูจะเห็นว่าที่ความเร็วรอบสูงขึ้นโหลดจะต้อง 

การแรงบิดน้อยลงเพี่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นจะขอยกตัวอย่างเป็นตัวเลขดังแสดงในรูปที่ 2